fbpx

เหตุใดการทำ EIA / EHIA จึงไม่เป็นที่ยอมรับ

ehia

EIA กับ EHIA คือ อะไร ต่างกันอย่างไร แล้วทำไมต้องมี

EIA (Environmental Impact Assessment) คือ “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” จากโครงการต่าง ๆ ของรัฐและเอกชน เช่น เขื่อน โรงไฟฟ้า ถนน สนามบิน ที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทั้งด้านบวกและลบ เพื่อเตรียมควบคุม ป้องกัน และแก้ไขก่อนเริ่มสร้างโครงการนั้น ๆ

ส่วน EHIA (Environmental Health Impact Assessment) เป็นรายงานส่วนหนึ่งของ EIA อีกที แต่จะเน้นที่ “ผลกระทบต่อสุขภาพ” ของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการนั้น ๆ

หลายประเทศออกพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ บังคับให้ภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ต้องทำ EIA และ EHIA ก่อนสร้างโครงการต่าง ๆ โดยเริ่มจากกระบวนการกลั่นกรองโครงการ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อกําหนดขอบเขตการศึกษาและประเมินระดับผลกระทบ จากนั้นต้องจัดเวทีรับฟังการทบทวนร่างรายงานอีกครั้งเพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบ ก่อนจะทำรายงาน EIA หรือ EHIA เสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และหน่วยงานอนุญาต

นับตั้งแต่ปี2535 ประเทศไทยบังคับให้ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอในโครงการ 35 ประเภทที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 67 วรรคสอง และประกาศกระทรวงทรัพย์ฯ กำหนดให้ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหรืออีเอชไอเอในโครงการ 11 ประเภทที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรง

เมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว สผ. จะส่งรายงาน EIA หรือ EHIA ไปขอความเห็นประกอบจากองค์กรอิสระ ขั้นตอนสุดท้ายหน่วยงานผู้มีอํานาจอนุมัติจะเผยแพร่เหตุผลและคําชี้แจงการตัดสินใจต่อสาธารณะและบนเว็บไซต์

แต่เหตุใดการทำ EIA / EHIA ของหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการเขื่อนแม่วงค์ โครงการโรงไฟฟ้าที่ จ.กระบี่ โครงการเหมืองแร่ทองคำที่ จ.เลย และอีกหลายโครงการจึงมีกระแสคัดค้านจากกลุ่ม NGOs และชาวบ้านในท้องถิ่น

ประเด็นสำคัญ ได้แก่

  1. การสร้างให้เกิดการมีส่วนรวมอย่างแท้จริงในการรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้าน
  2. การมีผลประโยชน์ทับซ้อนกันระหว่าง องค์กรที่เป็นเจ้าของโครงการ ในฐานะ “ผู้ว่าจ้าง” กับ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA / EHIA ในฐานะ “ผู้รับจ้าง”
  3. ความมีจรรยาบรรณในฐานะนักวิชาการ ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA / EHIA

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts