fbpx

(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ ​27/10/2556)

“…อื่นๆ อีกมากมาย อีกมากมาย อีกมากมายที่ไม่รู้

อาจจะจริงเราเห็นอยู่  เผื่อใจไว้ ที่ยังไม่เห็น…”

ท่อนฮุคของเพลง “อื่น ๆ อีกมากมาย” ของวงดนตรี “เฉลียง”  สะท้อนให้เห็นถึงมุมมอง และทัศนคติในการมองโลกได้เป็นอย่างดี สิ่งที่เรารับรู้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น…

เครื่องมือพื้นฐานด้านการคิดตัวหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ได้แก่ PMI ย่อมาจาก

P – Plus สิ่งที่เป็นด้านบวกของสิ่งนี้ คือ อะไร?

M – Minus สิ่งที่เป็นด้านลบของสิ่งนี้ คือ อะไร?

I – Interesting สิ่งที่น่าสนใจของสิ่งนี้ คือ อะไร?

การตั้งคำถาม 3 คำถามนี้ กับสิ่งต่าง ๆ ที่เรากำลังพิจารณาอยู่ จะช่วยทำให้เราเห็นประเด็นต่าง ๆ อย่างครบถ้วน

ลองคิดกันเล่น ๆ นะครับ “หากว่าบนรถไฟฟ้า เก้าอี้นั่งถูกถอดออกหมด ไม่มีที่นั่งเลย จะเป็นอย่างไร”

P-Plus ด้านบวกของสิ่งนี้ คือ

  • รถไฟฟ้าสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น
  • ราคาของรถไฟฟ้าถูกลง เนื่องจากไม่มีค่าเก้าอี้

M-Minus ด้านลบของสิ่งนี้ คือ

  • คนแก่ สตรีมีครรภ์  เด็ก และคนพิการ ไม่มีที่นั่ง
  • ผู้โดยสารอาจหกล้มได้ง่าย หากรถไฟฟ้าเบรคกะทันหัน

I-Interesting สิ่งที่น่าสนใจ คือ

  • เก้าอี้สามารถออกแบบเป็นแบบพับเก็บได้ เหมือนในโรงหนัง
  • มีโบกี้โดยสารทั้ง 2 แบบในขบวนเดียวกันทั้งแบบโบกี้ที่มีที่นั่ง กับโบกี้ที่ไม่มีที่นั่ง

ความสำคัญของเครื่องมือฝึกคิด PMI

  1. ทำให้เราได้มุมมองใหม่ ๆ โดยปราศจากอคติ
  2. ทำให้เรามองเห็นข้อด้อยของสิ่ง ๆ นั้น
  3. ทำให้เราได้ขยายมุมมอง เห็นสิ่งที่น่าสนใจต่อยอดจากสิ่ง ๆ นั้น
  4. ทำให้เราฝึกตัดสินใจอย่างรอบคอบ

เราสามารถนำ PMI ไปฝึกใช้พิจารณากับประเด็นต่าง ๆ เพื่อให้เห็นมุมมองรอบด้าน ปราศจากอคติ เช่น

  • “หากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะเป็นอย่างไร”
  • “หากไม่มีการสอบ Admission จะเป็นอย่างไร”
  • “หากไม่มีการกำหนดให้ใส่ชุดนักเรียน จะเป็นอย่างไร”

เห็นไหมละครับว่าเราสามารถฝึกคิดได้ทุกสถานการณ์ ขึ้นอยู่กับเราว่าจะนำเครื่องมือฝึกคิดต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่มีสอนในห้องเรียน ขอให้ Enjoy thinking นะครับ

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Analytical and Systematic Thinking”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts