ชื่อหลักสูตร : “Facilitator Skills”
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่สนใจเรียนรู้ทักษะ Facilitator จำนวนไม่เกิน 20 คนต่อรุ่น
หลักการและเหตุผล :
องค์กรที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น นอกจากความพร้อมเรื่องเงินทุน เทคโนโลยีแล้ว ความพร้อมในเรื่องความสามารถของบุคลากรก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะผลักดันองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ตามที่ Peter M. Senge ได้เขียนไว้ในหนังสือที่ชื่อ The Fifth Discipline ว่าคุณลักษณะขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องประกอบไปด้วยวินัย 5 ประการ คือ
- Personal Mastery
- Mental Model
- Shared Vision
- Team Learning
- Systems Thinking
ซึ่งบทบาทของ Facilitator ที่สำคัญในการไปทำหน้าที่ Change Agent ช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรเพื่อให้เกิดบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจในวินัยทั้ง 5 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง Mental Model ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ในเรื่องทักษะการฟังอย่างใคร่ครวญ และที่สำคัญคือ Systems Thinking ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบที่ Peter M. Senge จัดให้เป็นวินัยที่สำคัญที่สุดจึงเป็นที่มาของชื่อหนังสือ The Fifth Discipline
นอกจากนี้แล้ว Facilitator จำเป็นต้องเรียนรู้แนวคิดการเรียนรู้ Constructionism ของ Seymour Pepert เนื่องจากความรู้ และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญที่ Facilitator ต้องฝึกฝนตนเอง และฝึกฝน Learner ก็คือ ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง โดยการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learn How to Learn) และการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติผ่านการแก้ปัญหา (Problem-Based Learning)
วัตถุประสงค์การฝึกอบรม :
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของ Facilitator ต่อการพัฒนาองค์กร
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะ Facilitator ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ทักษะการเรียนรู้ และเข้าใจตนเอง และผู้อื่น
- ทักษะการเรียนรู้ และเข้าใจสไตล์การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
- ทักษะการนำกระบวนการกลุ่ม
- ทักษะการฟังอย่างใคร่ครวญ
- ทักษะการจับประเด็น และการคิดอย่างเป็นระบบ
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจบทบาท Facilitator ในการจัดการเรียนรู้แบบ Constructionism
เนื้อหาหลักสูตร
วันที่ 1
เวลา | หัวข้อการฝึกอบรม | วิธีการฝึกอบรม |
09:00 – 12:00 | – องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
1. Personal Mastery 2. Mental Model 3. Shared Vision 4. Team Learning 5. Systems Thinking |
บรรยาย
กระบวนการกลุ่ม กิจกรรม |
12:00 – 13:00 | Lunch Break | |
13:00 – 17:00 | – Enneagram ศาสตร์แห่งการทำความเข้าใจตนเอง และผู้อื่น | บรรยาย
กระบวนการกลุ่ม กิจกรรม |
17:00 – 17:30 | – Reflection สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ | กระบวนการกลุ่ม |
วันที่ 2
เวลา | หัวข้อการฝึกอบรม | วิธีการฝึกอบรม |
09:00 – 12:00 | – การนำกระบวนการกลุ่ม
1. BAR (Before Action Review) 2. AAR (After Action Review) 3. CoP (Community of Practice) 4. WorldCafe |
บรรยาย
กระบวนการกลุ่ม กิจกรรม |
12:00 – 13:00 | Lunch Break | |
13:00 – 17:00 | – การฝึกทักษะการฟังอย่างใคร่ครวญ
– การฝึกทักษะจับประเด็น |
กระบวนการกลุ่ม
กิจกรรม |
17:00 – 17:30 | – Reflection สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ | กระบวนการกลุ่ม |
วันที่ 3
เวลา | หัวข้อการฝึกอบรม | วิธีการฝึกอบรม |
09:00 – 12:00 | – การทำความเข้าใจสไตล์การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ด้วยแนวคิดการทำงานของสมอง (Whole Brain Learning) | บรรยาย
กระบวนการกลุ่ม กิจกรรม |
12:00 – 13:00 | Lunch Break | |
13:00 – 17:00 | – แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำหน้าที่ Facilitator ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยการใช้แนวคิดการเรียนรู้ Constructionism | กระบวนการกลุ่ม
กิจกรรม |
17:00 – 17:30 | – Reflection สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ | กระบวนการกลุ่ม |
เทคนิควิธีการฝึกอบรม : การเรียนรู้แบบบรรยาย กระบวนการกลุ่ม และการทำกิจกรรม
ระยะเวลาฝึกอบรม : 3 วัน (09:00-17:30 น.)
วิทยากร :
- อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร
- ผศ.เอกรัตน์ รวยรวย
- อาจารย์สมพงษ์ เผือกเอี่ยม
สนใจ “หลักสูตร Facilitator” “อบรม Facilitator”
สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-7113466
E-mail : contact@nairienroo.com
Line ID : @lert
โดยสามารถระบุรายละเอียดที่ต้องการได้ในแบบฟอร์มด้านล่างนี้