ในโลกปัจจุบันสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Free TV, Cable TV, หนังแผ่น VCD/DVD รวมทั้งไปถึงหนังสือนั้น ต่างมีจำนวนมากมาย ดังนั้นการเลือกที่จะเสพสื่อนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กในยุคโลกาภิวัฒน์
การที่พ่อแม่ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับลูก หรือได้มีเวลาดูหนัง-อ่านหนังสือพร้อมไปเขา ก็จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เขาได้เรียนรู้แง่คิดต่าง ๆ จากสื่อเหล่านั้น
หนังสือเล่มหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะแนะนำให้อ่าน คือ “สอนลูกให้คิดเป็น” เขียนโดย ดร.เสรี พงศ์พิศ ที่บอกเล่าแง่คิดมุมมองต่าง ๆ ที่เขาได้เรียนรู้จากหนังที่เขาดู และหนังสือที่เขาอ่าน ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบจดหมายที่เขียนถึงลูกเพื่อให้ลูกรู้จักคิดวิเคราะห์จากการเลือกเสพสื่อต่าง ๆ นอกเหนือจากเพียงความสนุกเพลิดเพลินบันเทิงใจ
หนัง และหนังสือที่ ดร.เสรี พงศ์พิศ หยิบมาถ่ายทอดนั้น มีหลายเรื่องหลายเล่มเลยทีเดียว ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสดูและอ่าน และรู้สึกได้แง่คิดอะไรหลายอย่าง
หนังสือเล่มหนึ่งที่จะขอกล่าวถึง ก็คือ หนังสือสุดคลาสสิคที่ชื่อ “เจ้าชายน้อย” เป็นหนังสือที่แฝงไว้ด้วยปรัชญา และแนวคิดต่าง ๆ สามารถหยิบขึ้นมาอ่านซ้ำได้เมื่อเวลาผ่านไป เพราะประสบการณ์ในชีวิตที่เพิ่มพูนขึ้น ก็จะทำให้มองเห็นแง่คิดที่แฝงไว้มากขึ้น เจ้าชายน้อยสะท้อนความแตกต่างของผู้คนต่าง ๆ ผ่านการเดินทางไปเยี่ยมดาวต่าง ๆ และแง่คิดที่ผู้เขียนชอบในหนังสือเล่มนี้ คือ “…สิ่งสำคัญไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา แต่สามารถรับรู้ได้ด้วยหัวใจ…”
มาถึงหนังอิตาลีเรื่องหนึ่ง ที่ชื่อ “Life is Beautiful” ตอนแรกที่ผู้เขียนได้ดูฉากเริ่มต้นของเรื่องนี้ ก็คิดว่าหนังเรื่องนี้คงเป็นหนังแนว Romantic Comedy ทั่วๆไป แต่พอได้ดูจนจบทั้งเรื่องได้เห็นถึงความรักที่มีต่อกันของสามี-ภรรยา และความรักที่มีต่อลูก ที่ครอบครัวของกิวโด้ซึ่งเป็นชาวยิว ต้องถูกจับตัวไปคุมขังในค่ายกักกัน แต่สิ่งที่กิวโด้ได้เลือกที่จะทำก็คือ ในสถานการณ์ที่เลวร้ายก็ยังมีแง่มุมที่ดีให้เลือกมอง ขณะที่ถูกกวาดต้อนขึ้นรถไฟ เขาก็บอกลูกว่าเรากำลังนั่งรถไฟไปเที่ยวกัน และในขณะที่อยู่ภายใต้ค่ายกักกัน ภายใต้กฎระเบียบต่าง ๆ อันเข้มงวด ก็เลือกที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นกติกาในเกมการแข่งขันอันแสนสนุกที่จะได้อยู่รอดปลอดภัย
หนังเรื่องสุดท้ายที่จะหยิบมาเล่า ได้แก่ หนังที่ชื่อ “Beautiful Mind” ซึ่งเป็นเรื่องจริงของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อก้องโลกนามว่า “John Nash” เจ้าของทฤษฎี “Game Theory” ผลงานที่ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล
“John Nash” มีอาการผิดปกติทางประสาทตั้งแต่เรียนในระดับมหาวิทยาลัย และเป็นหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาสามารถกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้ ก็คือ ภรรยาของเขานั่นเอง หนังเรื่องนี้สามารถสะท้อนให้เห็นเลยว่าต่อให้คุณมีความอัจฉริยะแค่ไหน IQ เลิศหรูปานใด แต่หากปราศจาก EQ ที่ดีแล้ว ชีวิตคุณก็จะประสบปัญหา ซึ่งในตอนท้ายเรื่อง “John Nash” ได้บอกเลยว่าเขาพยายามอธิบายทุกอย่างด้วยสมการ แต่สุดท้ายแล้วเขาพบว่ามีหลายสิ่งไม่สามารถใช้เหตุผลในการอธิบายได้
ดูรายละเอียดหลักสูตร “Analytical and Systematic Thinking”
สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466
contact@nairienroo.com
“นายเรียนรู้”
วิทยากร และที่ปรึกษา
A@LERT Learning and Consultant
มือถือ 086-7771833
E-mail : boonlert.alert@gmail.com
Facebook : นายเรียนรู้
Line ID : @lert
www.nairienroo.com