เขียน โดย
เพชร ทิพย์สุวรรณ
เรียบเรียง โดย
จี สุภาวดี
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่ยั่งยืนเกิดจากการพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรภายใต้แนวคิดที่ว่าศักยภาพของธุรกิจเกิดจากผลรวมของศักยภาพของสมาชิกทุกคนในองค์กร
ศักยภาพของธุรกิจ = ศักยภาพของสมาชิกทุกคนในองค์กรรวมกัน
การพัฒนาองค์กรให้มีความสามารถแข่งขันและเติบโตได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน คงหนีไม่พ้นการพัฒนาศักยภาพพนักงานทุกคนในองค์กร ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้คือ “Growth Mindset” หรือกรอบความคิดแบบเติบโต
เป็นจุดเริ่มต้นของนักเรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร ผู้ที่มี Growth Mindset จะเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถพัฒนาหรือเรียนรู้ทักษะและความรู้ใหม่ๆ ได้ กล้าเสี่ยง ไม่หวาดกลัวความล้มเหลว พร้อมเผชิญความท้าทาย มองปัญหา อุปสรรค และความล้มเหลวเป็นบทเรียนของการพัฒนาตนเอง ซึ่งทำให้คนกลุ่มนี้เป็นนักแก้ปัญหาที่ดี มีความสามารถและทักษะการสื่อสาร ประสานงาน เชื่อว่าตัวเองสามารถสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ได้ ทำให้ไม่ละทิ้งความพยายาม จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม นำไปสู่ความคิดและทางออกใหม่ๆ ของปัญหา
ตรงข้ามกับ Growth Mindset คือ Fixed Mindset หรือกรอบความคิดแบบยึดติด ที่เชื่อว่าทักษะ ความสามารถที่แต่ละคนมีนั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถพัฒนา เรียนรู้ หรือปรับปรุงได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคของการเรียนรู้ และรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
ในฐานะของนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความก้าวหน้าทางธุรกิจและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรทุกคนมี Growth Mindset และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์กร เพื่อให้ตอบโจทย์ของการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกวันนี้ เพราะผู้ที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตเชื่อว่ามีช่องว่างสำหรับเติบโตเสมอและเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ไม่สิ้นสุด กรอบความคิดแบบนี้จึงจำเป็นสำหรับวัฒนธรรมการเรียนรู้ ที่สนับสนุนให้ทุกคนเรียนรู้และเติบโตอย่างต่อเนื่อง กรอบความคิดแบบเติบโตทำให้คนเปิดรับกับความท้าทายและเห็นความล้มเหลวเป็นโอกาสสำหรับการเรียนรู้
องค์กรสามารถส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้และส่งเสริม Growth Mindset ได้อย่างไรบ้างนั้นเป็นคำถามที่น่าสนใจ เพื่อให้เป็นเรื่องที่จับต้องได้ และทำได้จริง ขอให้นึกภาพผู้บริหาร ผู้จัดการ รวมถึงหัวหน้าทีมที่คอยสนับสนุนและผลักดันให้ทีมงานภายใต้การดูแลได้ริเริ่มทำอะไรใหม่ๆ หรือทดลองทำในสิ่งที่แตกต่างจากเดิม โดยไม่คาดหวังผลลัพธ์ที่ต้องประสบความสำเร็จ การสื่อสารต้องกระตุ้นให้เกิดการทดลองทำ เช่น ฝากช่วยลองหาวิธีใหม่ๆ ทำรายงานประจำเดือนให้เสร็จเร็วขึ้นหน่อย แน่นอนว่าวิธีใหม่ๆ อาจจะไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก แต่ถ้าสมาชิกคนไหนในทีมได้ทดลองทำมาก็ขอให้ลองเล่ากระบวนการหรือวิธีการทำรายงานประจำเดือนแบบใหม่ให้เพื่อนร่วมทีมฟัง พร้อมๆ กับให้กำลังใจ ให้ฟีดแบ็คถึงวิธีการทำงานใหม่นี้อย่างตรงไปตรงมา โดยเน้นที่เนื้องาน ไม่พิพากษ์วิจารณ์ที่ตัวคนทำงาน และอย่าลืมขอบคุณที่ช่วยหาเวลาทดลองทำรายงานด้วยวิธีการใหม่ๆ การแบ่งบันวิธีการทำงานแบบนี้ช่วยให้สมาชิกในทีมคนอื่นสามารถนำวิธีการทำรายงานประจำเดือนของคนแรกไปพัฒนาต่อยอดได้เป็นวิธีการที่ดียิ่งขึ้น ที่เล่ามานั้นเป็นการยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ช่วยให้เห็นภาพชัดเจน ซึ่งสามารถสรุปตามหลักการได้ดังนี้
องค์กรที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้และส่งเสริม Growth Mindset นอกจากจะทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมแล้วยังเพิ่มแรงจูงในการทำงาน เพราะเปิดกว้างให้เรียนรู้ ได้ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ได้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักเรียนรู้และผู้ที่มีศักยภาพ รักความก้าวหน้าปรารถนาเป็นอย่างมาก ทำให้องค์กรเหล่านี้สามารถดึงดูดพนักงานเก่งๆ มาร่วมงานกับองค์กรได้ไม่ยาก สุดท้ายแล้วองค์กรที่เต็มไปด้วยคนเก่งที่พร้อมเรียนรู้ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ย่อมกลายเป็นองค์กรที่มีศักยภาพและเติบโตอย่างยั่งยืน สามารถฝ่าคลื่นลมของยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนของโลกได้อย่างมั่นคง
ต้องการจัดฝึกอบรม ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
098-763-3150 (คุณมิลค์)
081-711-3466 (คุณเพชร)
E-mail : contact@nairienroo.com
Line ID : @lert
Facebook : นายเรียนรู้
Website : www.nairienroo.com