(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ 23/11/2557)
ในชีวิตของทุกคนไม่ว่าผู้ใหญ่ หรือเด็ก ล้วนแต่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างต่างนานา ไม่ว่าจะเล็กหรือว่าใหญ่ เพียงแต่ใครจะมองว่าสิ่งนั้นเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้น หรือเป็นสิ่งนั้นเป็นความท้าทายที่ทำให้เราเติบโตทางปัญญา
แท้ที่จริงแล้วประเภทของปัญหา สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท
- Standard Problem คือ ความแตกต่างระหว่าง “สิ่งที่เป็นอยู่” กับ “สิ่งที่ควรจะเป็น”
- Challenge Problem คือ ความแตกต่างระหว่าง “สิ่งที่เป็นอยู่” กับ “สิ่งที่อยากให้เป็น”
สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้นั้น องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งในวันนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอแนวทางวิเคราะห์ปัญหาด้วย “PIPE” ได้แก่
ปัจจัยภายใน (Internal Factor)
P – People ให้พิจารณาว่ามี ใคร หรือ ทีมงานใด หรือ หน่วยงานใด หรือ องค์กรใด บ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานี้
I – Input ให้พิจารณาว่า Input ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ และเงินทุน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานี้
P – Process ให้พิจารณาว่ากระบวนการทั้งหมดตั้งแต่นำ Input เข้ามาผ่านกระบวนการต่าง ๆ ไปจนถึงออกเป็น Output ว่ามีอะไรบ้างที่มีส่วนเกียวข้องกับปัญหานี้
ปัจจัยภายนอก (External Factor)
E – Environment ให้พิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น นโยบาย, เศรษฐกิจ, สังคม และอื่น ๆ ว่ามีอะไรบ้างที่มีส่วนเกียวข้องกับปัญหานี้
จากนั้นให้นำมาเขียนออกมาเป็นแผนภาพ ดังรูป
โดยผู้เขียนได้นำแนวทางวิเคราะห์ปัญหาด้วย “PIPE” ไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา “คะแนน O-NET น้อยกว่าค่ามาตรฐาน” ของโรงเรียนบ้านเขาแดง (ราษฎร์อุปถัมภ์) จ.สงขลา ซึ่งถ้าจัดเป็นปัญหาประเภท Standard Problem คือ ความแตกต่างระหว่าง “สิ่งที่เป็นอยู่” อันได้แก่ ผลคะแนนสอบของโรงเรียน กับ “สิ่งที่ควรจะเป็น” อันได้แก่ คะแนนค่ามาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยให้คุณครูช่วยกันระดมสมอง ออกมาได้ผลวิเคราะห์ดังนี้
ปัจจัยภายใน (Internal Factor)
P – People มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
- ผู้บริหาร – ต้องเน้นความสำคัญของงานด้านวิชาการ
- ครู – ขาดแคลนบุคลากรที่สอนตรงกับวิชาเอกที่จบมา และมีภาระงานด้านธุรการมาก
- ผู้ปกครอง – ไม่ให้ความสำคัญของการศึกษาของลูกหลาน และไม่ให้ความร่วมมือกับโรงเรียน
I – Input ประกอบไปด้วย 2 ส่วน
- นักเรียน – ไม่มีเป้าหมายในการเรียนที่ชัดเจน, ขาดเรียนบ่อย ทำให้อ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง และไม่รู้จักคิด
- งบประมาณ – ขาดแคลนงบประมาณที่จะพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้น่าสนใจ
P – Process ได้แก่ การจัดกระบวนการการเรียนการสอนของครูยังขาดเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ เพื่อกระตุ้นความอยากเรียนรู้ของเด็ก
ปัจจัยภายนอก (External Factor)
E – Environment สภาพแวดล้อมของชุมชน และปัญหาปากท้อง ที่ส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงและมีการเปลี่ยนที่ทำกินบ่อย ทำให้นักเรียนขาดเรียนบ่อย และต้องเลิกเรียนกลางคันเพื่อย้ายตามพ่อแม่
สำหรับโรงเรียน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ที่ต้องการให้ผู้เขียนไปบรรยายหลักสูตร “Systems Problem Solving and Decision Making” ให้กับบุคลากรในองค์กร
สามารถติดต่อได้ที่ A@LERT Learning and Consultant
คุณมิลค์ 098-763-3150
คุณเพชร 081-711-3466
“นายเรียนรู้”
วิทยากร และที่ปรึกษา
A@LERT Learning and Consultant
มือถือ 086-7771833
E-mail : boonlert.alert@gmail.com
Facebook : นายเรียนรู้
Line ID : @lert
www.nairienroo.com