fbpx

(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ ​11/08/2556)

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา กระแสข่าวเกี่ยวกับละครซีรี่ส์วัยรุ่นยอดฮิตได้ถูกกล่าวถึงอย่างมาก ทั้งในกรณีที่ถูก กสทช. สั่งให้ส่งเทปที่ยังไม่ได้ออกอากาศไปตรวจสอบเนื้อหา รวมไปถึงข่าวที่นักแสดงสาวละครเรื่องดังกล่าว มีภาพขณะกำลังเสพยา หลุดว่อนโลกออนไลน์ ซึ่งเจ้าตัว และคุณพ่อก็ออกมายอมรับความจริงต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

“…ผมสอนลูกตลอดครับ ว่าเราโกหกทุกๆ คนได้ แต่เราไม่สามารถโกหกตัวเองได้…”  คือวลีที่คุณพ่อของนักแสดงสาวให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว นี่คือสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณพ่อสามารถทำได้ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว คือ ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น และพร้อมเป็นกำลังใจให้ลูกสาวตนเอง

แน่นอนว่าภาพที่ถูกถ่ายนั้น น่าจะเกิดจากความนึกสนุกเพียงชั่ววูบ โดยคาดไม่ถึงว่าจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในภายหลังที่จะตามมา จากกรณีดังกล่าวนี้เราสามารถป้องกันเหตุการณ์ในลักษณะทำนองเดียวกันนี้ ด้วยการฝึกฝนให้ลูกหลานให้คิดโดยใช้เครื่องมือพื้นฐานด้านการคิดที่ชื่อ C&S (Consequence and Sequel)

C&S คือ การคิดคำนึงถึงผลกระทบ และสิ่งที่ตามมา จากการตัดสินใจเลือก ที่จะทำหรือไม่ทำสิ่งใด

ในช่วงเริ่มต้นการฝึกฝนการใช้เครื่องมือนี้สำหรับเด็ก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วยเหลือให้มุมมองเกี่ยวกับการมองไปข้างหน้าในอนาคต เพราะประสบการณ์ของผู้ใหญ่จะมีประโยชน์อย่างมาก

คำถามสำคัญที่ต้องถามในการฝึกคิด C&S คือ “อะไรเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น?”

การฝึกคิดแบบ C&S เปรียบเสมือนการสำรวจเส้นทาง เพื่อประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งในด้านดี และด้านไม่ดี ทั้งต่อตนเอง และต่อคนอื่น โดยสามารถแบ่งเป็น 4 ระดับตามมิติของเวลา ได้แก่

(1) ผลกระทบทันที (Immediate consequences) คือสิ่งที่ตามมาอย่างรวดเร็วทันทีทันใดจากผลของการกระทำ

(2) ผลกระทบระยะสั้น (Short-term consequences) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากผลของการกระทำ

(3) ผลกระทบระยะกลาง (Medium-term consequences) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งต่าง ๆ สงบลงแล้ว

และ (4) ผลกระทบระยะยาว (Long-term consequences) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นอีกนานมาก

ในบางกรณีผลกระทบทั้ง 4 ระดับอาจไม่สอดคล้องกัน และทำให้ตัดสินใจผิดพลาด ตัวอย่างเช่น มีชายคนหนึ่งได้นำกระต่ายมาปล่อยที่ประเทศออสเตรเลียเพื่อส่งเสริมกีฬาล่าสัตว์ ผลกระทบทันทีเป็นในแง่ดีเพราะเขาและเพื่อนๆ ต่างสนุกกับการล่าสัตว์ชนิดใหม่ ผลกระทบระยะสั้นยังคงเป็นแง่บวกเพราะหลังจากที่กระต่ายเหล่านั้นค่อยๆ ขยายพันธุ์ออกไป ชาวบ้านจึงมีเนื้อชนิดใหม่ในการประกอบอาหาร แต่ผลกระทบระยะกลางเริ่มกลับกลายเป็นไม่ดี เนื่องจากกระต่ายขยายพันธุ์ออกไปอย่างรวดเร็วและเริ่มรบกวนชาวบ้านในวงกว้างขึ้น ผลกระทบระยะยาวกลายเป็นเรื่องเลวร้ายมาก เพราะกระต่ายได้ขยายพันธุ์ไปทั่วทั้งทวีปออสเตรเลียและทำให้พืชผลของเกษตรกรเสียหายจำนวนมาก

ฉะนั้น การทำ C&S ทั้ง 4 ระดับก่อน จะทำให้มั่นใจในการตัดสินใจดำเนินการตามความคิดของตนได้ว่า จะไม่เกิดปัญหาใดๆ ตามมา หรือในกรณีที่พิจารณาแล้วว่าอาจเกิดปัญหาบ้าง ในระดับที่รับมือได้ ก็จะได้เตรียมตัวในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาเหล่านั้นไว้เสียแต่เนิ่นๆ

การฝึกใช้เครื่องมือพื้นฐานด้านการคิด C&S (Consequence and Sequel) ร่วมกับ OPV (Other People’s View) จะทำความคิดมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพราะบุคคลอื่นจะมองเห็นผลกระทบจากการกระทำเราได้ดีกว่า  ในตอนหน้าเรามาจะมาทำความรู้จักกับเครื่องมือตัวต่อไป OPV (Other People’s View)

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Analytical and Systematic Thinking”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts