fbpx

พื้นฐานความคิดเชิงระบบ

เหตุใดความคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) จึงมีความสำคัญ ? ก็เพราะสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา รวมไปถึงตัวเราเองด้วยนั้น ล้วนมีความสัมพันธ์โยงใยที่เกี่ยวเนื่องกัน

เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องความคิดเชิงระบบมากขึ้น เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า “ระบบ คือ อะไร ?” และ “ความคิด คือ อะไร ?”

ตัวอย่างระบบที่เราสามารถมองเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ระบบร่างกาย (Body Systems) ซึ่งประกอบไปด้วยระบบย่อย ๆ อีกหลายระบบ ได้แก่ ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบสืบพันธุ์ ระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ

อีกตัวอย่างของระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ระบบรถยนต์ (Vehicle Systems) ซึ่งประกอบไปด้วยระบบย่อย ๆ อีกหลายระบบ ได้แก่ ระบบเครื่องยนต์ ระบบเชื้อเพลิง ระบบเบรก ระบบระบายความร้อน ระบบช่วงล่าง ระบบส่งกำลัง

จะเห็นได้ว่าหากลองมองไปรอบตัวเราแล้ว ล้วนรายรอบไปด้วยระบบต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น หรือมนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมา แต่โดยทั้งหมดแล้ว สิ่งที่เรียกว่า “ระบบ” จะประกอบไปด้วย

  1. ส่วนประกอบ (Elements)
  2. ความเชื่อมโยง (Linkage)
  3. กลไกการทำงาน (Mechanism)

ในส่วนของความคิดนั้น กระบวนการคิดเกิดจากการรับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย มาผนวกรวมเข้ากับความรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่ จึงเกิดเป็นความคิดขึ้นมา ดังแสดงให้เห็นในรูปที่ 1

Thinking.001

รูปที่ 1 กระบวนการคิด

ความคิดเชิงระบบ คือ การรับรู้ และมองภาพรวม มองให้เห็นความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่าง ๆ มองให้เห็นความเชื่อมโยงของส่วนประกอบต่าง ๆ และกลไกการทำงานของทั้งระบบ

แต่ความคิดก็คือ สิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถจับต้องได้ จะทำอย่างไรให้คนอื่นได้เข้าใจ และสามารถร่วมคิดไปกับเราได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนออกมาเป็นแผนภาพความคิด

พื้นฐานแผนภาพความคิดเชิงระบบ ประกอบไปด้วย

  1. Reinforcing Loop

คือ วงจรเสริมแรง ที่ทำให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง หรือถดถอยอย่างต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นในแง่บวกหรือในแง่ลบ ตัวอย่างเช่น ปรากฏการณ์ “ปากต่อปาก” จุดเริ่มต้นอยู่ที่การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าพึงพอใจก็จะช่วยกันบอกต่อ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้จำนวนลูกค้าที่พึงพอใจเพิ่มขึ้น และบอกต่อกันไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

2. Balancing Loop

คือ วงจรสมดุล ที่ระบบพยายามปรับตัวเองเข้าสู่สภาวะสมดุล หรือเป้าหมายที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น เวลาเรานอนอยู่ในห้องแล้วรู้สึกหนาว เราก็จะหาเสื้อผ้า หยิบผ้าห่มมาปกคลุมร่างกาย เพื่อให้ร่างกายรู้สึกอุ่นขึ้นตามที่เรารู้สึกว่าพอดี

3. Delay

คือ การหน่วงเวลา เพราะการกระทำในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ได้เกิดผลในทันที ตัวอย่างเช่น เวลาเราปรับอุณหภูมิเครื่องทำน้ำอุ่น จะต้องรอสักพักกว่าน้ำจะอุ่น จนหลายครั้งเราเร่งไปปรับเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้น้ำร้อนเกินพอดี

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Systems Problem Solving and Decision Making”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts