fbpx

(บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “Life is Learning” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันอาทิตย์ที่ ​08/09/2556)

เมื่อพูดถึงการบ้านสำหรับเด็กน้อยหลาย ๆ คนแล้ว อาจจะเปรียบเสมือนยาขมหม้อใหญ่ เมื่อเลิกเรียนมาเด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการวิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ ในหมู่บ้าน หรือนั่งดูการ์ตูน กว่าจะเริ่มทำการบ้านก็มืดค่ำดึกดื่น

สำหรับสถานการณ์นี้ สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรฝึกฝนให้กับน้อย คือ เครื่องมือพื้นฐานด้านการคิดตัวหนึ่งที่ชื่อว่า  FIP (First Important Priorities)  เครื่องมือสำหรับคัดเลือกสิ่งที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรก ซึ่งแน่นอนครับว่าในชีวิตประจำวันของเราไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย แต่ด้วยเวลาที่มีจำกัดนั้น การบริหารเวลา (Time Management)  จึงเป็นสิ่งสำคัญ การประยุกต์ใช้แนวคิด FIP จะทำให้เรารู้ลำดับความสำคัญก่อนหลัง

หากเปรียบเรื่องสำคัญที่สุดที่ต้องทำเป็นก้อนหินจำนวนหนึ่ง เรื่องสำคัญรองลงมาเป็นก้อนกรวดจำนวนหนึ่ง เรื่องสำคัญน้อยที่สุดเป็นทรายจำนวนหนึ่ง และเรื่องที่ไม่สำคัญเป็นน้ำจำนวนหนึ่ง โดยให้เวลาที่มีอยู่ในแต่ละวันเปรียบเสมือนปริมาตรของถัง

กำหนดโจทย์ให้ต้องใส่ก้อนหิน ก้อนกรวด ทราย และน้ำ ทั้งหมดลงในถัง ดังนั้นหากเราไม่จัดลำดับในการเทของแต่ละชนิดลงในถัง เช่น เราเทน้ำลงไปก่อนจนเต็มถัง เราก็จะไม่สามารถเทสิ่งอื่นลงไปได้อีก

ดังนั้นสิ่งที่ถูกต้องคือ การใส่ก้อนหินลงไปก่อน ตามด้วยก้อนกรวด ตามด้วยทราย และปิดท้ายด้วยน้ำ  เช่นกันในชีวิตประจำวันเราก็ต้องเลือกแบ่งเวลาทำเรื่องสำคัญที่สุดก่อน แล้วจึงแบ่งเวลาไปทำเรื่องอื่น ๆ

สิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง จะต้องทำ FIP กับเด็กน้อย คือ List ออกมาก่อนว่าจะต้องมีกิจกรรมอะไรที่ต้องทำบ้าง เช่น

  1. ว่ายน้ำ
  2. ขี่จักรยาน
  3. เล่นบอลกับเพื่อน ๆ
  4. ทำการบ้าน
  5. ทานอาหารเย็น

แล้วก็ลองนั่งคิดพิจารณาร่วมกันกับเด็กน้อยครับ ว่าเรื่องใดที่มีความสำคัญที่สุด เรื่องใดที่มีความสำคัญไล่รองลงมาตามลำดับ ลองตั้งคำถามกับเด็กน้อยดูครับ ว่าทำไมเขาถึงคิดว่าเรื่องนี้จึงมีความสำคัญกว่าอีกเรื่องหนึ่ง สิ่งที่เขาคิดก็ไม่จำเป็นต้องตรงสิ่งที่เราคิดก็ได้

นอกเหนือจากการใช้ FIP กับการบริหารเวลาแล้ว ก็ยังสามารถใช้ FIP ในการสอนการใช้เงินให้เด็กได้ด้วย เพื่อให้เด็กน้อยรู้จักคุณค่าของเงิน โดยลองทำ List กับเขาดูครับ ว่าในแต่ละวันที่ได้เงินค่าขนมไปโรงเรียน เขามีรายการที่ต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง

  1. ค่าอาหารกลางวัน
  2. ค่าขนม
  3. ซื้อของเล่น
  4. เก็บเงินฝากธนาคาร
  5. ….

นำรายการทั้งหมดมาทำ FIP ด้วยกัน ก็จะทำให้เด็กน้อยเห็นคุณค่าของเงิน และรู้จักใช้เงินอย่างแท้จริง

ดูรายละเอียดหลักสูตร “Analytical and Systematic Thinking”

สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466

contact@nairienroo.com

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts