fbpx

จาก Enron ถึง CP All บทพิสูจน์ธรรมาภิบาล

960717

การกำกับดูแลองค์กร (Organiztional governance) ไม่เพียงแต่เน้นในเรื่องการบริหารจัดการองค์กรด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้เท่านั้น

ตัวอย่างของบริษัท ENRON ถือเป็นกรณีศึกษาในเรื่องการขาดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการทำธุรกิจเป็นอย่างดี โดยบริษัท ENRON มีการทำทุจริตปลอมแปลงตัวเลขทางการเงิน ปกปิดรายจ่าย เพื่อให้งบการเงินของบริษัทดูดีมีกำไรเป็นที่สนใจของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์   ซึ่งมีบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี Arthur Anderson ร่วมกระทำการทุจริตด้วย ท้ายที่สุดต้องถูกฟ้องร้องล้มละลาย และสูญเสียความน่าเชื่อถือ

หรืออย่างกรณีล่าสุดที่ผู้บริหาร CP ALL ถูก ก.ล.ต.ปรับ ในการใช้ข้อมูลอินไซด์เดอร์ซื้อหุ้น Makro นั้น นับเป็นกรณีศึกษาที่ดีในฐานะผู้นำที่ส่งผลต่อธรรมาภิบาลที่ดีของบริษัท

การที่เครือซีพี ออกมายืนยันตามเนื้อข่าวที่ VOICE TV นำเสนอว่า

“ซีพีออลล์ ยังมีธรรมาภิบาลที่ดี” ส่วนการที่ผู้ถือหุ้นซีพีออลล์ จะขายหุ้นทิ้ง ให้ถือว่า

“หากจะเลือกบริษัทที่ดีมีธรรมภิบาล แต่ผลกำไรไม่ดี ก็แล้วแต่”

ได้ฟังประโยคนี้เข้าไป ถึงกับสะอึก แต่ก็พอจะสะท้อนจุดยืนขององค์กรได้อย่างชัดเจน

ในมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) ได้พูดถึงประเด็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลองค์กร ไว้ดังนี้

1. การกำกับดูแลองค์กร (Organizational governance)

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรจัดโครงสร้างและกระบวนการตัดสินใจเพื่อ

  1. แสดงความมุ่งมั่นด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นลายลักษณ์อักษรโดยระบุไว้ในวัตถุประสงค์ เป้าหมาย นโยบาย กลยุทธ์ หรือเทียบเท่าตามความเหมาะสม
  2. แสดงถึงแนวทางในการบริหารจัดการองค์กรด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้
  3. สร้างและรักษาไว้ซึ่งโครงสร้างองค์กร กฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร แนวปฏิบัติตามความเหมาะสม ในการนำหลักการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติ
  4. สร้างแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีประสิทธิภาพโดยอาจเป็นการให้รางวัล การยกย่องชมเชย การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ค่าผลตอบแทนพิเศษ หรือระบบการสร้างแรงจูงใจในรูปแบบต่าง ๆ
  5. แสดงผลการใช้งบประมาณ ทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ส่งเสริมบุคลากรซึ่งหมายรวมถึงสตรี บุคลากรที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ ในการดำรงตำแหน่งระดับอาวุโสได้อย่างเป็นธรรม
  7. มีการพิจารณาความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และสร้างให้เกิดความสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งความต้องการเร่งด่วน และความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  8. กำหนดให้มีกระบวนการในการสื่อสารแบบสองทางระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อรับฟังความคิดเห็นและนำข้อมูลมาใช้ประกอบการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น
  9. ส่งเสริมการมีส่วนรวมของพนักงานทุกระดับในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
  10. บุคลากรที่ทำหน้าที่ตัดสินใจในนามขององค์กรในบทบาทต่าง ๆควรได้รับการกำหนดอำนาจการตัดสินใจ และความรับผิดชอบที่มีความสมดุล
  11. ติดตามผลการตัดสินใจในการดำเนินงานทั้งด้านบวก และด้านลบ เพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินใจเหล่านั้นได้ถูกติดตามจากผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตามช่วงเวลาที่กำหนด
  12. มีการทบทวนและประเมินผลกระบวนการในการกำกับดูแลองค์กรตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด เพื่อนำไปสู่การปรับกระบวนการดังกล่าวให้ได้ผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้และสื่อสารการเปลี่ยนแปลงนั้นทั่วทั้งองค์กร

จะเห็นว่าในหัวข้อหลักการกำกับดูแลองค์กร (Organiztional governance) ไม่เพียงแต่เน้นในเรื่องการบริหารจัดการองค์กรด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้เท่านั้น แต่ยังเน้นในเรื่องการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถนำหลักการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติโดยที่ทุกคนในองค์กรมีส่วนรวม และมีการสื่อสารแบบสองทางกับผู้มีส่วนได้เสีย มีการติดตาม และประเมินผลเพื่อนำไปปรับให้ได้ผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังให้คำนึงความเท่าเทียมกันในการดำรงตำแหน่งระดับอาวุโสไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นสตรี หรือบุคลากรที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ

“นายเรียนรู้”

อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

วิทยากร และที่ปรึกษา

A@LERT Learning and Consultant

มือถือ 086-7771833

E-mail : boonlert.alert@gmail.com

Facebook : นายเรียนรู้

Line ID : @lert

www.nairienroo.com

Related Posts