เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้วที่ผู้เขียนได้เขียนถึงเรื่อง “ผีเสื้อกระพือปีก” จากการได้พูดคุยกับ ดร.ไสว บุญมา ที่จะขยายแนวคิดโครงการส่งเสริมการอ่านนี้ไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงกว้างนั้น
ในวันเสาร์ที่ผ่านมา (23/11/56) ที่ร้าน House of Commons – Café&Space (https://www.facebook.com/HOCSpace) ร้านกาแฟสไตล์ Learning Community เล็ก ๆ ย่านฝั่งธน ริม ถ.เจริญนคร ก็ได้มีการรวมตัวกันของผีเสื้อวัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ดร.ไสว บุญมา อ.รัศมี ธันยธร อ.แบงค์ งามอรุณโชติ ผู้ดูแลโครงการนานมีบุ๊คส์รีดดิ้งคลับ รวมไปถึงกลุ่มนักเรียนเก่าเอเอฟเอส (TRAFS) ที่ให้การสนับสนุนมูลนิธินักอ่านบ้านนา รวมทั้งตัวผู้เขียนเอง และกัลยาณมิตรท่านอื่น ๆ โดยการประสานงานของผีเสื้อตัวน้อย คุณเพชร-ทิพย์สุวรรณ ตั้งอมรสุขสันต์ ที่รับอาสาเป็นเจ้าภาพ ทั้งในเรื่องสถานที่ และอาหารกลางวัน
บรรยากาศในการช่วยกันระดมสมอง (Brainstorm) อุดมไปด้วยพลังแห่งความคิดที่อยากเห็นเด็กไทยรักการอ่านมากขึ้น ยิ่งได้ อ.รัศมี ธันยธร มาช่วยเป็นกระบวนกร (Facilitator) ในการนำกลุ่มเพื่อค้นหา Idea ใหม่ ๆ ด้วยวิธีคิดสร้างสรรค์แบบหมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats) ซึ่งเป็นแนวคิดของปรมาจารย์ด้านการคิด Dr.Edward de Bono คิดค้นขึ้น
วิธีคิดสร้างสรรค์แบบ Six Thinking Hats ที่ อ.รัศมี ธันยธร (พี่เอ็ด) นำมาใช้ในกลุ่ม เพื่อค้นหา Idea ใหม่ ๆ ก็คือ
- กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน โดยการใช้หมวกสีฟ้า (Blue Hat) มองภาพรวม
- สำรวจข้อมูลปัจจุบันที่เป็นอยู่ โดยแบ่งออกเป็น
- ใช้หมวกสีขาว (White Hat) ในการค้นหาข้อเท็จจริง
- ใช้หมวกสีเหลือง (Yellow Hat) ในการระบุด้านดี ด้านบวกของสิ่งที่เป็นอยู่
- ใช้หมวกสีดำ (Black Hat) ในการระบุด้านไม่ดี ด้านลบของสิ่งที่เป็นอยู่
- หาทางเลือกในการแก้ปัญหา โดยใช้หมวกสีเขียว (Green Hat) โดยแบ่งออกเป็น
- Idea ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาเดิมที่มีอยู่
- Idea ที่จะมาช่วยพัฒนาต่อยอดของเดิมที่ดีอยู่แล้ว
- Idea ที่จะค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากวิธีการเดิม ๆ โดยใช้เทคนิคสุ่มคำ (Random word)
ส่วนหมวกอีกใบที่เหลือ คือ หมวกสีแดง (Red Hat) ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการนี้ หมวกสีแดง คือ การใช้สัญชาตญาณ อารมณ์ ความรู้สึก ลางสังหรณ์ ในการตอบสนองทั้งต่อสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และทั้งต่อทางเลือกที่จะตัดสินใจ
ในการใช้เทคนิคสุ่มคำ (Random Word) นั้น หัวใจสำคัญ คือ เราต้องใช้คำที่สุ่มขึ้นมาเป็นเพียงทางเชื่อมไปสู่ Idea ใหม่ ๆ เท่านั้น เราต้องไม่ไปยึดติดกับคำ ๆ นั้นนานเกินไป เปรียบเทียบได้กับ เราต้องเดินผ่านพื้นถนนที่เจิ่งนองไปด้วยน้ำขึ้นไปบนฟุตบาธ เราก็ต้องหาก้อนหินมาสักก้อนในการเหยียบข้ามไป เพื่อไม่ให้เท้าของเราเปียกน้ำ คำที่สุ่มขึ้นมาก็เปรียบได้กับก้อนหินเท่านั้นเอง มันคือทางผ่านที่จะพาเราไปสู่เป้าหมาย แต่เราต้องไม่ยึดติดกับมัน
ดูรายละเอียดหลักสูตร “Analytical and Systematic Thinking”
สนใจฝึกอบรมติดต่อ A@LERT Learning and Consultant
คุณชลมารค (มิลค์) 098-763-3150
คุณทิพย์สุวรรณ (เพชร) 081-711-3466
contact@nairienroo.com
“นายเรียนรู้”
วิทยากร และที่ปรึกษา
A@LERT Learning and Consultant
มือถือ 086-7771833
E-mail : boonlert.alert@gmail.com
Facebook : นายเรียนรู้
Line ID : @lert
www.nairienroo.com